“ฟ้ายิ่งมืด ดาวยิ่งกระจ่าง ฟ้ายิ่งอับแสง ดาวยิ่งระยับ” หลายปีก่อนที่ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ดอยหลวงเชียงดาว เป็น พื้นที่สงวนชีวมณฑลมณฑล (Biosphere Reserve) แห่งใหม่ของไทย เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ได้มีคนกลุ่มหนึ่งพยายามผลักดันแนวคิดให้ อำเภอเชียงดาว เป็นเมืองดาว แหล่งดูดาวในเมืองแห่งแรก ที่ไม่ต้องดั้นด้นไปดูดาวระยิบระยับ ทางช้างเผือก ในป่าหรือที่ห่างไกลอันปราศจากแสงไฟ เมืองดาวสำหรับคนชอบดูดาว อาจจะเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในหลายประเทศ
Category Archives: articles
กุหลาบและเพื่อนคู่หู
หนังสือโปรดตลอดกาลเล่มหนึ่งของฉันคือ “ครอบครัวของผมและสัตว์อื่นๆ” (My Family and Other Animals) ของเจรัลด์ เดอเรลล์ (Gerald Durrell) และเล่มอื่นๆ ในซีรีส์ที่นักธรรมชาติวิทยาคนนี้เขียนเล่าถึงชีวิตวัยเด็ก รุ่มรวยสีสันของเขากับครอบครัวบนเกาะคอร์ฟูก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง บอกไม่ถูกว่าอ่านมันกี่รอบแล้ว และยังสนุกขนาดหัวเราะออกมาได้ดังๆ เสมอ
วิธีบำบัดน้ำ
ทุ่งน้ำนูนีนอยบำบัดน้ำอย่างไร และเราใช้น้ำที่บำบัดแล้วรดแปลงกุหลาบ 1 น้ำในลำเหมืองจากแม่ปิง ข้นคลั่กเหมือนชานมหลังฝนตก 2 เข้ามาในพื้นที่ชุ่มน้ำนูนีนอยก็จะผ่านการบำบัดด้วยธรรมชาติเป็นชุด ทั้งด้านกายภาพ (ความขุ่นใส) และชีวภาพ (เราจะตรวจสอบชนิดพันธุ์สัตว์น้ำเป็น KPI) ด่านแรกคือบ่อดักตะกอน ตามด้วยสระใหญ่ที่กำลังฟื้นฟูพงแขมขึ้นมา แล้วน้ำจะไหลเข้าสู่ทุ่งหญ้าน้ำแฉะ ก่อนเข้าบ่อที่ 3 บ่อที่ 4 (หน้าบ้าน) และสุดท้ายคือบึงบัวกับคูยกร่องที่เราปลูกกุหลาบ ก่อนไหลออกสู่ระบบเหมืองฝายต่อไป 3 บ่อหน้าบ้านเรา ท้ายน้ำจากทุ่งหญ้าน้ำแฉะ 4 ร่องในคูข้างแปลงกุหลาบ จะมีปลากัดอาศัยอยู่ 5 บึงบัวที่สูบน้ำรดกุหลาบ
ปลูกข้าวอินทรีย์ต้องอดทน
“จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ…” ผมรู้จักบทเพลงนี้ของ จิตร ภูมิศักดิ์ นักวิชาการ กวี คนสำคัญของประเทศมายาวนานแล้ว แต่เพิ่งเข้าใจความรู้สึกจริงๆ เมื่อไม่นานมานี้เอง
ความลับของดอกกุหลาบ
“เราทุกคนต่างใฝ่ฝันถึงสวนกุหลาบในแดนมหัศจรรย์เหนือเส้นขอบฟ้า แทนที่จะชื่นชมกับดอกกุหลาบ ที่บานอยู่นอกหน้าต่างในวันนี้” – Dale Carnegie ชีวิตที่ผ่านมา ผมชื่นชอบดอกกุหลาบมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่น ชอบกลิ่นหอมกุหลาบ ชอบสีสัน และกลีบกุหลาบทับซ้อนอันบอบบาง
ที่มาของชื่อ “นูนีนอย”
เป็นการผสมชื่อเล่นของแม่และพ่อของเจ้าของทุ่งน้ำ คุณสรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ผู้ทิ้งมรดกทั้งในรูปแบบของเงินและมุมมองต่อโลกธรรมชาติไว้ให้เรา ทำให้บ้านและทุ่งน้ำที่เชียงดาวนี้เกิดขึ้นมาได้ มรว.สมานสนิท สวัสดิวัตน์ ชื่อเล่นหนุ่น แต่ฝรั่งเรียก Nunie แม่ก็เซ็นต์ชื่อภาพเขียนตัวเองว่า Nunie ดร.รชฎ กาญจนะวณิชย์ ชื่อเล่นหน่อย สะกดภาษาอังกฤษก็เป็น Noi รวมกันก็เป็น Nunie+Noi = Nunienoi อ่านกลับมาเป็นภาษาไทยก็เลยเป็น “นูนีนอย”